สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ข้อมูลจากกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบว่า พบผู้ป่วยโรคโควิด-19 สะสม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566-16 เมษายน 2566 จำนวน 5,483 ราย เสียชีวิตสะสม 273 ราย ส่วนสถานการณ์โรคในเดือนเมษายน 2566 พบผู้ป่วย 435 ราย เสียชีวิต 2 ราย ซึ่งถ้าเปรียบจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตในเดือนเมษายน 2565 พบว่าต่ำว่า โดยในเดือนเมษายน 2565 พบผู้ป่วย 16,918 ราย เสียชีวิต 124 ราย จังหวัดอำนาจเจริญ พบผู้ป่วยโรคโควิด-19 สะสม ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2566 -16 เมษายน 2566 จำนวน 307 ราย เสียชีวิตสะสม 2 ราย และในเดือนเมษายน 2566 พบผู้ป่วยจำนวน 3 ราย ไม่พบผู้ป่วยสียชีวิต ซึ่งถ้าเปรียบจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตในเดือนเมษายน 2565 พบว่าต่ำว่า โดยในเดือนเมษายน 2565 พบผู้ป่วย 4,835 ราย เสียชีวิต 34 รายทั้งนี้ การฉีดวัคซีนโควิด 19 สามารถลดความรุนแรงของการป่วยและเสียชีวิตได้ ซี่งสถานการณ์ การฉีดวัคซีนโควิด 19 ณ วันที่ 17 เมษายน 2566 จังหวัดอำนาจเจริญ มีเป้าหมาย การฉีดวัคซีนคิด 19 ในประชาชนอายุ 6 เดือนขึ้นไป จำนวน 401,198 คน ฉีดวัคซีนเข็ม 1 จำนวน 348,910 (ร้อยละ 82.12) เข็ม 2 จำนวน 329,394 คน (ร้อยละ 82.12) เข็ม 3 จำนวน 156,321 (ร้อยละ 38.96) เข็มที่ 4 จำนวน 23,867 (ร้อยละ 5.96) และเข็ม 5 จำนวน 3,497 คน (ร้อยละ 0.87) ซึ่งเป้าหมายในการฉีดวัคซีนเข็ม 1 และเข็มที่ 2 คือ ร้อยละ 90 และเข็มที่ 3 ร้อยละ 70 ซึ่งจากผลการฉีดดังกล่าวยังต่ำกว่าเกณฑ์ ทั้งนี้กลุ่มประชาชนโดยเฉพาะกลุ่มที่มีภูมิต้านทานต่ำ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป, กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง และเบาหวาน และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ ควรเข้ารับการฉีดเพื่อลดอาการรุนแรงของการป่วยหรือเสียชีวิต โดยสามารถรับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่โรงพยาบาลหรือนัดหมายการฉีดที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือศูนย์บริการสาธารณสุขใกล้บ้านและจากข่าวการแพร่ระบาดของเชื้อสายพันธุ์โควิดสายพันธุ์โอมิครอน XBB.1.16 ที่เพิ่มขึ้นทั่วโลก ซึ่งข้อมูล ณ วันที่ 13 เมษายน 2566 พบเชื้อแล้วใน 22 ประเทศ ทั่วโลกเกือบ 3 พันราย โดยเฉพาะประเทศอินเดีย เชื้อสายพันธุ์ล่าสุดนี้มีความสามารถในการติดต่อสูงกว่าเชื้อสายพันธุ์ในอดีต และในประเทศไทยพบผู้ป่วย 6 ราย และยังไม่พบการระบาดสำหรับอาการโควิดโอมิครอนสายพันธ์ุ XBB.1.16 คือ มีอาการไข้สูง ไอ และเยื่อบุตาอักเสบตาแดง ลักษณะคล้ายตาแดง มีอาการคันตา ขี้ตาเหนียว ทำให้ลืมเปลือกตาไม่ขึ้น แต่ไม่ได้เป็นหนองและมีผื่นคัน ดังนั้นเพื่อเป็นการเฝ้าระวังป้องกันโรค จึงควรดำเนินการ ดังนี้ 1. ประชาชนอายุ 6 เดือนขึ้นไป เข้ารับการฉีดวัคซีนโควิด-19 อย่างน้อย 3 เข็ม ซึ่งมีประโยชน์มากในการลดความรุนแรงจากการป่วยและเสียชีวิต และสามารถเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคในสายพันธ์อื่นๆได้ ทั้งนี้สามารถรับการฉีดวัคซีนในเข็มที่ 4, 5, 6 โดยมีระยะห่างระหว่างเข็มทุกๆ 4 เดือน โดยเฉพาะกลุ่มที่มีภูมิต้านทานต่ำ ได้แก่ ผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป, กลุ่มผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 7 โรค คือ โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคอ้วน โรคมะเร็ง และเบาหวาน และกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ โดยสามารถรับบริการฉีดวัคซีนโควิด 19 ที่โรงพยาบาลหรือนัดหมายการฉีดที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลหรือศูนย์บริการสาธาร