สรุปข่าวประจำสัปดาห์ (10-14 กรกฎาคม 2566)การเมือง/มั่นคง10 กรกฎาคม 2566ประธานรัฐสภา เตรียมนัดตัวแทนวิปวุฒิสภา พรรคการเมือง หารือร่วมกันเพื่อเตรียมพร้อมในการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึงการลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี ที่จะมีขึ้นในวันที่ 13 กรกฎาคมนี้ว่า เป็นวาระสำคัญต้องยึดหลักรัฐธรรมนูญและข้อบังคับของการประชุมรัฐสภา ทั้งนี้ได้คุยกับประธานวุฒิสภา ในการเชิญวิปวุฒิสภา ตัวแทนพรรคการเมืองและผู้ที่เกี่ยวข้องมาประชุมร่วมกันในวันพรุ่งนี้ (11 ก.ค.66) เวลา 11.00 น. เพื่อทำความเข้าใจให้การประชุมวันดังกล่าวมีความกระชับมากขึ้น ส่วนการแสดงวิสัยทัศน์ของผู้ที่ได้รับการเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรี ไม่ได้กำหนดไว้ แต่หากมี ส.ส. หรือ ส.ว. เสนอขึ้นมาเป็นญัตติให้ต้องมีการแสดงวิสัยทัศน์จะต้องขอมติจากที่ประชุมก่อน พร้อมปฏิเสธที่จะตอบคำถามกรณีที่วันนี้ (10 ก.ค.66) คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) นัดประชุมเพื่อพิจารณาคำร้องการถือครองหุ้น ITV ของนายพิธา ว่า จะส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยมีลักษณะต้องห้ามของนายพิธาหรือไม่ โดยระบุเพียงว่า ยังไม่สามารถตอบได้ประธานรัฐสภา กล่าวถึงกรณีที่พรรคก้าวไกล นัดหมายมวลชนมาให้กำลังใจนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ที่หน้ารัฐสภาในวันที่ 13 กรกฎาคมนี้ว่า เบื้องต้นได้มีการหารือร่วมกันระหว่างเจ้าหน้าที่สภาและตำรวจ เพื่อวางแผนและเตรียมการอำนวยความสะดวก รวมถึงการรักความปลอดภัย โดยจะใช้สนามอเนกประสงค์ ถนนทหาร เยื้องกับรัฐสภา ซึ่งเป็นพื้นที่ของกรุงเทพมหานครในการรับรองมวลชน ซึ่งกรุงเทพมหานครยินดีให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวแล้ว โดยสามารถรองรับมวลชนได้ถึง 10,000 คน และจะมีรถสุขา เต็นท์มาบริการให้กับประชาชนเพื่อไม่ให้ประชาชนรู้สึกห่างไกลสามารถมีส่วนร่วมติดตามการประชุมรัฐสภาเพื่อลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีได้และจะดูแลความปลอดภัยของ ส.ส. และ ส.ว. เพื่อให้การประชุมสามารถดำเนินการไปได้อย่างราบรื่นส.ว.เตือนพรรคการเมืองที่จะลงมติเลือกนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี อาจขัดรัฐธรรมนูญเพราะขาดคุณสมบัตินายเสรี สุวรรณภานนท์ สมาชิกวุฒิสภา กล่าวถึงคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เตรียมยื่นหนังสือต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานภาพสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.)ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล กรณีการถือหุ้นสื่อบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ว่า มีผลต่อการพิจารณาเรื่องคุณสมบัติ เพราะการที่ กกต. ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญถือเป็นแนวทางที่ชัดเจนถูกต้อง ซึ่งจะแก้ไขปัญหาความเห็นที่แตกต่างได้ หากสืบสวนชัดเจนแล้วตามมาตรา 151 เป็นข้อมูลเดียวกัน สามารถสรุปเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ นอกจากนี้ การยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยก่อนวันลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีไม่ใช่เรื่องของการขัดขวาง แต่เป็นบทบัญญัติที่รัฐธรรมนูญกำหนดให้บุคคลที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจะต้องมีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้าม ดังนั้นในการทำหน้าที่ ส.ส.และ ส.ว.ตามกฎหมายมาตรา 272 ให้ ส.ส. และ ส.ว.เห็นชอบคนที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 159 ดังนั้นการทำหน้าที่ไม่จำเป็นต้องรอศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งนี้ห่วงใย 8 พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาล ที่ร่วมลงนาม mou จะตัดสินใจเลือกคนที่คุณสมบัติไม่ครบถ้วนตามรัฐธรรมนูญหรือไม่เพราะเท่ากับขัดรัฐธรรมนูญ จึงฝากให้แต่ละพรรคไปพิจารณาและไม่อยากให้การตั้งรัฐบาลเสียงข้างน้อยเกิดขึ้น สำหรับในส่วนของ ส.ว. ยืนยันว่า จะไม่เลือกคนหรือพรรคการเมืองที่กระทบต่อสถาบันแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 หรือมีการทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ โดยไม่เว้นหมวด 1 และ 2 และยืนยันว่า มี ส.ว.ที่จะลงมติให้นายพิธามีประมาณ 5 เสียงเท่านั้น นอกจากนี้ การที่ประชาชนพูดว่า ส.ว. ไม่เคารพเสียงของประชาชนต้องทำความเข้าใจว่าไม่ควรนำมารวมกันเพราะเป็นคนละเรื่อง การทำหน้าที่เลือกนายกรัฐมนตรีเป็นเรื่